กระ เกิดจากอะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร
กระเกิดจากความผิดปกติของเม็ดสีเมลานินที่สร้างเซลเม็ดสีมากเกินไป บริเวณที่กระขึ้นมักอยู่ที่จมูก โหนกแก้ม หรือตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ต้นแขน ต้นขา ซึ่งตัวการที่คอยทำร้ายและทำลายผิวที่ก่อให้เกิดกระ มีดังนี้
1. แสงแดด
แสงแดดนั้นมีรังสี UVA และ UVB ที่คอยทำลายผิวให้คล้ำเสีย ทั้งยังกระตุ้นให้เม็ดสีเมลานินนั้นผลิตขึ้นมามากผิดปกติ ทำให้เกิดจุดด่างดำ หรือ จุดสีน้ำตาลเล็ก ๆ จนกระจายไปทั่วบริเวณผิวหน้า
2. แสงจากมือถือ และจอคอมพิวเตอร์
อีกหนึ่งตัวการร้ายทำลายผิวหน้า คือแสง Blue Light ที่มาจากจอมือถือและจอคอมพิวเตอร์ มีโอกาสส่งผลกระตุ้นให้เม็ดสีเมลานินกระจายตัวไม่เท่ากัน ทำให้เกิดฝ้า กระ จุดด่างดำ บนผิวได้
3. อารมณ์และความเครียด
ความเครียดสามารถก่อให้เกิดการผลิตฮอร์โมนที่ผิดปกติและแปรปรวนได้ เมื่อฮอร์โมนไม่สมดุลจึงทำให้เกิดเมลานินสะสมจนเป็นฝ้า กระ จุดด่างดำได้
4. พันธุกรรม
คนที่มีกรรมพันธุ์ผิวคล้ำหรือมีคนในครอบครัวเป็นกระ ลูกหลาน หรือญาติ ๆ สามารถมีโอกาสเกิดกระบนผิวหนังได้มากกว่าคนทั่วไป
5. อายุ
เมื่ออายุมากขึ้น เซลล์ผิวจะเสื่อมสภาพ และผลิตเม็ดสีเมลานินมากขึ้น ทำให้เกิดกระที่คนสูงอายุได้
6. ฮอร์โมน
การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เช่น ระหว่างตั้งครรภ์ หรือการรับประทานยาคุมกำเนิด อาจทำให้เกิดกระได้
กระ มี 4 ชนิด คือ
1. กระตื้น
จุดสีน้ำตาลเล็ก ๆ มักพบบริเวณโหนกแก้มทั้ง 2 ข้าง หรือจมูก โดยสาเหตุที่เซลทำงานผิดปกตินั้นส่วนใหญ่มาจากพันธุกรรม บางคนเป็นกระตั้งแต่อายุน้อย เพราะเซลเม็ดสีมีความไวต่อแสง หากไม่ป้องกันให้เต็มที่ กระจะมีสีเข้มข้น จำนวนเพิ่มขึ้น และขนาดใหญ่ขึ้นอีกด้วย
2. กระลึก
จุดเล็ก ๆ หรือแผ่นสีน้ำตาลไปจนถึงสีเทาดำ มองเผินๆ คล้ายปานหรือฝ้า มักพบบริเวณขมับ ดั้งจมูกและโหนกแก้ม โดยสาเหตุกระลึก เกิดจากความผิดปกติของเซลเม็ดสีในชั้นหนังแท้ ซึ่งพบตั้งแต่แรกเกิดและจะถูกกระตุ้นโดยรังสี UV จากแสงแดด นอกจากนี้เรื่องของฮอร์โมนก็มีส่วนสำคัญไม่น้อยทั้งอายุที่เพิ่มขึ้นหรือในช่วงที่กำลังตั้งครรภ์ กระลึกนั้นอาจยิ่งมีสีเข้มชัดขึ้นได้
3. กระเนื้อ
ตุ่มเล็ก ๆ สีน้ำตาลอ่อนไปจนถึงน้ำตาลเข้ม มักพบในบริเวณใบหน้า ลำคอ หน้าคอ หน้าอกและหลัง ตุ่มเล็กๆ นั้นมีโอกาสจะขยายใหญ่ขึ้นและมีสีเข้มขึ้นได้ โดยสาเหตุการเกิดกระเนื้อ คือผิวหนังชั้นกำพร้าเจริญมากขึ้นผิดปกติ โดยแสงแดดและอายุที่มากขึ้น คือตัวกระตุ้นให้กระเนื้อมีขนาดใหญ่และจำนวนมากขึ้นนั่นเอง
4. กระแดด
จุดหรือปื้นเรียบ ๆ สีน้ำตาลหรือสีดำ มีขอบชัดกว่ากระอื่นๆ มักพบในบริเวณที่โดนแดดบ่อยๆ เช่น บริเวณใบหน้า อาจจะเป็นโหนกแก้มที่รับแสงแดดกว่าจุดอื่น หรือ แขน ขา ที่ไม่ได้รับการทาครีมปกป้องแดด ส่วนใหญ่จะเป็นกับผู้ที่มีผิวขาวและอายุมาก
วิธีดูแลรักษากระให้ได้ผล